การบำบัดด้วยโฟโต้ไดนามิก

ฆ่ามะเร็งด้วยแสงความเข้มสูง

 

 

การบำบัดด้วยโฟโต้ไดนามิกคืออะไร

การบำบัดด้วยโฟโต้ไดนามิกใช้ยาที่ไม่มีพิษต่อร่างกายที่สกัดจากพืชหรือสารกึ่งสังเคราะห์เพื่อทำให้เซลล์มะเร็งมีสภาวะไวต่อแสงมากขึ้นที่ความยาวคลื่นที่เฉพาะเจาะจง สารประกอบจากสมุนไพรนี้ได้แก่ขมิ้นชัน, hypercine และ chlorine e6 สารประกอบเหล่านี้เรียกว่าสารไวต่อแสง

 

ในการรักษาด้วยวิธีนี้สารไวต่อแสงจะถูกฉีดเข้าไปในกระแสเลือด เนื่องจากเซลล์ผิดปกติจะดูดซึมสารไวต่อแสงในปริมาณมากเราสามารถทราบได้ว่าสารถูกดูดซึมไปรวมตัวกันที่ตำแหน่งใด เราจึงสามารถเจาะจงตำแหน่งของมะเร็งที่ต้องการรักษาได้ เมื่อสารไวต่อแสงนี้ถูกแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นเฉพาะเจาะจง จะทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาของออกซิเจนที่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ประสิทธิภาพการรักษาด้วยวิธีนี้เหมือนกับการรักษาด้วยวิธีรังสีบำบัดแต่เป็นการรุกล้ำร่างกายที่น้อยกว่า เป็นพิษต่อร่างกายน้อยกว่าและสามารถระบุตำแหน่งที่ต้องการรักษาได้ดีกว่า

การรักษาด้วยวิธีนี้อาจจะช่วยทำลายหลอดเลือดในบริเวณใกล้เคียงที่ช่วยเลี้ยงเซลล์มะเร็งได้ด้วย ซึ่งจะทำให้เซลล์มะเร็งขาดอาหารที่จำเป็น นอกจากนี้การบำบัดด้วยโฟโต้ไดนามิกยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและส่งสัญญาณให้ระบบภูมคุ้มกันโจมตีเซลล์มะเร็งอีกด้วย การรักษาวิธีนี้สามารถใช้ร่วมกับภูมิคุ้มกันบำบัดเช่นการรักษาด้วยเซลล์เดนไดรติกและการใช้ยายับยั้งการทำงานของโปรตีนเช็คพอยต์ได้ดี

 

การบำบัดด้วยโฟโต้ไดนามิกเหมาะกับมะเร็งประเภทใด

การบำบัดด้วยโฟโต้ไดนามิกมักจะเป็นวิธีรักษาที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีมะเร็งก้อนขนาดเล็ก ข้อจำกัดของการรักษาแบบนี้คืออาจจะต้องพิจารณาถึงตำแหน่ง (ตำแหน่งของการเจาะเพื่อส่องกล้อง)และความลึกที่จะต้องฉีดสารไวต่อแสงเข้าไป การรักษาวิธีนี้ได้รับการพัฒนามาจากการรักษามะเร็งผิวหนังและยังถือว่าเป็นวิธีใหม่สำหรับการรักษามะเร็งประเภทอื่นๆ แต่ก็เป็นที่ยอมรับมากขึ้นว่าเป็นวิธีรักษาที่เหมาะกับมะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งกล้ามเนื้อและมะเร็งกระดูก ที่เอสเพอรานซ์การรักษาด้วยวิธีนี้ถือเป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่สามารถมารักษาซ้ำได้และรักษาร่วมกับการรักษาวิธีอื่นๆเช่นการผ่าตัด การฉายแสงและการรักษาด้วยวิธีทำลายเซลล์ 

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับสารไวต่อแสงที่เลือกใช้ ผู้ป่วยอาจจะมีปฎิกิริยาไวต่อแสงแดดเพิ่มขึ้นจากการรักษา ดังนั้นเราจะแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรงหรือแสงสว่างจ้าภายในอาคารในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติระยะเวลาที่แนะนำคือประมาณสองสัปดาห์ และอาจจะมีปฏิกิริยาบริเวณที่เกิดมะเร็งจากการอักเสบของเนื้อเยื่อเช่นอาการบวมได้